ข่าว


วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

ดอกเบี้ยที่เกิดจากการฝากเงินในธนาคาร เป็นที่อนุมัติสำหรับมุสลิมหรือไม่ ในการไปทำบุญ เพราะเหตุใด?

ดอกเบี้ยที่เกิดจากการฝากเงินในธนาคารไม่เป็นที่อนุมัติสำหรับมุสลิม ซึ่งการได้รับดอกเบี้ยตามปกติในธนาคารทั่วไปนั้นรับมาไม่ได้อยู่แล้วตั้งแต่ต้น

แต่มีนักวิชาการ 3 กลุ่ม ซึ่งมีทรรศนะที่ต่างกันแบ่งเป็น 3 ทรรศนะด้วยกัน ทรรศนะของกลุ่มแรกคือ รับดอกเบี้ยไม่ได้เด็ดขาด มีความหมายว่าไม่ว่าจะเป็นการฝากในธนาคารเฉยๆ หรือการฝากเงินในธนาคารแล้วการได้รับดอกเบี้ย และการนำดอกเบี้ยไปทำบุญหรือนำเอามาใช้ทำอย่างอื่นไม่ได้เด็ดขาด แม้แต่การรับดอกเบี้ยยังไม่ได้เลย

ส่วนทรรศนะของนักวิชาการกลุ่มที่สอง นักวิชาการได้อธิบายว่า สามารถฝากเงินในธนาคาร และดอกเบี้ยที่ได้จากธนาคารสามารถเอามาได้ แล้วก็สามารถเอาไปทำบุญได้ด้วย ซึ่งทรรศนะนี้เป็นทรรศนะที่มีน้อยมาก ส่วนทรรศนะสุดท้าย นักวิชาการได้อธิบายว่า เอกดอกเบี้ยจากธนาคารได้ แต่อย่านำเงินดอกเบี้ยจำนวนนั้นมาใช้จ่ายภายในครอบครัว ควรนำไปใช้ในส่วนสาธารณะประโยชน์ เช่น นำเอาไปใช้ในการสร้างถนน สร้างกำแพง สร้างศาลาต่างๆ ได้ เพราะมิฉะนั้นแล้ว ถ้าเราบอกว่าเราไม่เอา คนในธนาคารก็จะเอาดอกเบี้ยไปใช้เอง

อาจารย์ซารีฟยังแสดงความคิดเห็นในทรรศนะที่สามว่า "ผมยังถือว่ากรณีที่สามมันยังจำเป็น ที่เราสามารถเอาเงินที่เป็นดอกเบี้ยไปใช้สร้างสาธารณะประโยชน์ แต่เวลา ณ วันนี้ เรามีธนาคารอิสลามแล้ว ถ้าหากใครีไม่มีทางเลือก ซึ่งเงินที่เขาเคยฝากอยู่ไม่ได้ฝากภายใต้ธนาคารอิสลามก็สามารถเอาเงินดอกเบี้ยนำมาใช้สาธารณะประโยชน์ได้ แต่อย่าเอามาใช้ภายในครอบครัวเด็ดขาด

ทรรศนะที่สาม ที่กล่าวมานั้น ไม่ใช่ทรรศนะที่ได้รับการอนุมัติ แต่สามารถนำมาทำให้เบาบางลง ซึ่งกล่าวได้ว่า ดอกเบี้ยที่ได้นั้น มันเป็นดอกเบี้ยที่ได้มาตามปกติโดยทั่วไปอยู่แล้ว จากการที่เราฝากธนาคารนั้นเอง แล้วนำมาใช้ประโยช์จะดีกว่า

ทรรศนะจาก Blogger "ณ ปัจจุบันนี้ประเทศไทยหรือสังคมคนไทยเองนั้นก็มีการก่อตั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยขึ้นมาแล้ว การที่เราจะฝากเงินไว้ควรที่พวกเราชาวมุสลิมทั้งหลายฝากเงินกับธนาคารที่เป็นแนวทางอิสลาม ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม ในเมื่อการที่เรานั้นมีหนทางเลือกแล้วทำไมเราต้องไปดิ้นรนหาหนทางที่ไม่แน่นอน ที่ไม่ชัดเจนหรือหนทางที่ไม่ได้รับการรองรับด้วยอั้ลฮาดิษจากบรรดาซอหะบะฮฺ ผู้รายงานเรื่องต่างๆ ที่ท่านนบีทรงปฏิบัติล่ะครับ"


kbac : รายงาน
เนื้อหาดีๆ จากหนังสือพิมพ์รายเดือน "กัมปงไทย"

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

KBAC : วันที่ "Socail Network" ปลุกศรัทธามุสลิมตอนจบ

อย่างไรก็ดี เราคงพึ่งเจ้าของโซเชียลเน็ตเวิร์กให้กระทำต่างๆ ไม่ได้อยู่ดี สิ่งที่ดีที่สุด คือ เราต้องสร้างเกราะคุ้มกันให้สังคมอิสลาม สร้างเกราะคุ้มกันให้กับเยาวชนมุสลิมทุกคน ท่ามกลางการเจริญรุดหน้าของโลกใบนี้ เราคงหนีไม่พ้นที่จะต้องเจอกับการต้องผจญกับคนที่ต่อต้านอิสลามและบิดเบือนอิสลาม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความรู้ศาสนากับลูกๆ หลานๆ ของเรา ซึ่งเป็นความรู้ที่ไม่ใช่แค่เก็บไว้ในสมองว่ารู้ แต่ต้องถูกนำมาปฏิบัติและถูกนำออกมาเผยแพร่ให้บุคคลอื่นๆ ชักชวนกันสู่หนทางแห่งอิสลาม หนทางสู่การตอนแทนแห่งโลกหน้าโลกอาคิเราะห์ ในขณะที่มีคนใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กทำลายล้างคุณธรรมความดี เราก็ต้องใช้มันนี่ละ ซึ่งมันมีประโยชน์อยู่มาก มาใช้ในการเผยแพร่อิสลามที่สวยงาม ดีงาม ถูกต้องสู่คนทั่วโลก เช่น กลุ่มนักวิชาการหรือนักเคลื่อนไหวด้านศาสนาต่างๆ ควรหันมาใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กในการดะวะห์ ตับลีฆ เชิญชวนคนทำอะม้าลอิบาดะห์ อาจจะสื่อสารผ่านทวิตเตอร์หรือเฟซบุ๊คก็ได้ ซึ่งจะทำให้เราสื่อสารได้กับคนจำนวนมากดังนั้น จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าโซเชียลเน็ตเวิร์กนั้นมีผลต่อความคิดของคนในสังคมออนไลน์

ส่วนมันจะสะท้อนหรือชักจูงให้คนคิดเช่นไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ทุกคน และวิจารณญาณในการรับรู้เข้าใจข้อมูลของแต่ละคนที่เข้าไปอ่านหรือเข้าไปเล่น และที่สำคัญที่สุด ทุกอย่างมันมีกรอบ มีขอบเขตของมันในเสรีภาพที่หลายๆ คนกล่าวอ้างนั้น มันก็ต้องไม่ไปละเมิดเสรีภาพคนอื่นเช่นกัน นั่นก็เป็นหน้าที่หลักของเจ้าของที่สร้างเครื่องมือเหล่านี้ขึ้นมาจะต้องตรวจสอบเนื้อหาบนเว็บให้ดี ไม่ใช่ช่วยตรวจสอบแต่กลุ่มธุรกิจเพลงกับหนัง

สิ่งที่เป็นผลประโยชน์อย่างมากอนันต์ ก็ กลับกลายมาเป็นโทษอย่างมหันต์ได้ในพลิบตาเหมือนกัน ความคิดความศรัทธาความเชื่อมั่นเราไม่สามารถสั่งการได้ อยู่ที่ความตระหนักเห็นว่าสิ่งไหนควรเชื่อ สิ่งไหนไม่ควรเชื่อ และเชื่ออย่างมีเหตุมีผลเชื่ออย่างใช้เหตุการณ์ประกอบการคิดใตร่ตรอง คนที่คิดที่ทำอย่างนี้ต่างหาก คือ กลุ่มคนที่ฉลาด

ช่วยกันคนละไม้คนละมือ...ในการสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้ศาสนาอิสลามดำรงอยู่ได้ และจะต้องเจริญต่อไปบนความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง
วัสลาม


KBAC : รายงาน
ขอบคุณเนื้อหาดีๆ จากหนังสือพิมพ์กัมปงไทย ประจำเดือนยะมาดิลอาเคร-รอยับ 1431

วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

KBAC : วันที่ "Social network" ปลุกศรัทธามุสลิมตอนที่สอง

ทั้งนี้หน้าเฟซบุ๊คดังกล่าวมีสมาชิกติดตามถึงแสนคนและมีภาพเข้าประกวดมากถึง 5 หน้า แต่ในขณะเดียวกันก็มีกลุ่มมุสลิมที่ทนไม่ได้กับการกระทำอันดูหมิ่นนบี กลุ่มมุสลิมกลุ่มนี้จึงได้สร้างเฟซบุ๊คโดยใช้ชื่อว่า "ต่อต้านวันที่ใครๆ ก็วาดภาพมูฮัมหมัดได้" ซึ่งได้รับความนิยมมากมายเช่นกัน มีสมาชิกติดตามมากถึงแสนกว่าคน จากกระแสต่อต้านเฟซบุ๊คจากประชาชนปากีสถานทางรัฐบาลปากีสถานจึงตัดสินใจบล็อกเว็บเฟซบุ๊คปิดการเชื่อมต่อกับเฟซบุ๊ค ส่งผลให้คนปากีสถานไม่สามารถเข้าเฟซบุ๊คได้

ทางด้านผู้บริหารเฟซบุ๊คก็รู้สึกไม่สบายใจต่อการตัดสินใจตัดการเชื่อมต่อเฟซบุ๊คในปากีสถาน เพราะว่า ปากีสถานมีประชากร 170 ล้านคน ชาวปากีสถานเล่นเฟซบุ๊คมากถึง 2.5 ล้านคน ไม่ใช่เฟซบุ๊คเท่านั้นที่โดนปิดในปากีสถาน ในส่วนของเว็บยูทูบก็เช่นกันได้ถูกปิดไปด้วยเพราะมีคลิดวีดีโอเป็นจำนวนมากที่มีเนื้อหาดูหมิ่นอิสลามและท่านนบี

โซเซียลเน็ตเวิร์กมีทั้งคุณและโทษ ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้นำไปใช้ว่าใช้ถูกวิธีหรือไม่ ถ้าจะเปรียบเทียบไปแล้วนั้น โซเซียลเน็ตเวิร์กก็เหมือนกับกระดานสำหรับปิดประกาศต่างๆ ที่ไม่ได้ใส่กุญแจล็อกใดๆ ใครๆ ก็สามารถมาปิดประกาศอะไรก็ได้ตามใจชอบ การที่มีผู้มาปิดประกาศที่มีเนื้อหาโจมตีหรือดูหมิ่นศาสนา สถาบันต่างๆ ตลอดจนเนื้อหาที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศนั้นถือเป็นความรับผิดชอบและสามัญสำนึกของเจ้าของกระดานดังกล่าว ที่จะต้องคอยตรวจสอบกระดานของตัวเองและเมื่อเห็นข้อความที่ไม่ดีหรือทำให้คนอื่นเสียหายก็ควรถอดข้อความนั้นๆ ออก ส่วนใหญ่แล้วเจ้าของเว็บโซเซียลเน็ตเวิร์กเหล่านี้มักไม่ค่อยให้ความสำคัญเรื่องการตรวจสอบข้อความที่ดูหมิ่นหรือละเมิดผู้อื่น ยกตัวอย่าง เช่น เว็บยูทูบนั้นมีการตรวจสอบวีดีโอที่คนโพสต์มา หากเขาพบว่ามีใครโพสต์วีดีโอที่เกี่ยวกับเพลงหรือภาพยนตร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ยูทูบจะทำการถอดวีดีโอดังกล่าวทิ้งเลย

แต่เมื่อเขาเห็นวีดีโอที่มีเนื้อหาหมิ่น ดูถูกเหยียดหยามทางศาสนา เขากลับทำเมินเฉย ไม่ถอดออก เช่น เดียวกับเฟซบุ๊คที่ปล่อยให้มีคนโพสต์ข้อความดูถูกศาสนาทั้งพุทธ คริสต์ อิสลามล้วนแล้วมีผู้ดูถูกทั้นั้นในกลุ่มสังคมออนไลน์ จึงเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของเจ้าของเว็บต่างๆ ที่จะต้องตรวจสอบเนื้อหาที่ได้ปล่อยให้มีการเขียนได้อย่างอิสระ
(อ่านต่อตอนหน้า)


KBAC : รายงาน
ขอขอบคุณเนื้อหาดีๆ จากหนังสือพิมพ์กัมปงไทย ประจำเดือนยะมาดิลอาเคร-รอยับ 1431

วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

KBAC : วันที่ "Social network" ปลุกศรัทธามุสลิม ตอนแรก

เหล่าบรรดาสาวกไซเบอร์ นักท่องอินเตอร์เน็ตทั้งหลาย ไม่มีใครที่ไม่รู้จัก เฟซบุ๊ค (facebook.com) ทวิตเตอร์ (twitter.com) ยูทูบ (youtube.com) อีกทั้งบล็อกและเว็บบอร์ดอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งหมดนี้เป็นของเล่นของนักเล่นอินเตอร์เน็ต เป็นสังคมออนไลน์ที่สามารถเข้าไปเขียนหรืออ่านเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างอิสระ และใคๆ ก็ขนานนามเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า "โซเซียลเน็ตเวิร์ก" (Social Network)

ของเล่นเหล่านี้ถูกพัฒนาให้กลายเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ทรงพลังมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะบทบาททางการเมือง ตัวอย่างเช่น ทักษิณใช้ทวิตเตอร์ในการสื่อสารกับเหล่าบรรดาสาวก นายกอภิสิทธิ์ใช้ทั้งทวิตเตอร์และเฟซบุ๊คในการสื่อสารกับแฟนคลับ หมอตุลย์ใช้เฟซบุ๊คในการร้างเครือข่ายสนับสนุนการทำงานของนายกภายใต้ชื่อ "มั่นใจคนไทยเกิน 1 ล้านคน ต่อต้านการยุบสภา" นอกจากนี้ประโยชน์ของโซเซียลเน็ตเวิร์กไม่ได้มีไว้สำหรับนักการเมืองเท่านั้น แต่เหล่าบรรดาศิลปินนักร้อง นักแสดง ต่างก็ใช้มันสื่อสารและประชาสัมพันธ์ผลงานตัวเองกับประชาชน อีกทั้งยังมีกลุ่มผู้ประกอบการจำนวนมากเลือกใช้โซเซียลเน็ตเวิร์กทั้งทวิตเตอร์และเฟซบุ๊คในการประชาสัมพันธ์แคมเปญหรือโปรโมชั่นใหม่ๆ เป็นช่องทางการสื่อสารทางการตลาดอีกช่องทางหนึ่ง ที่สำคัญคือฟรีไม่เสียเงิน จะเห็นได้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์ของโซเซียลเน็ตเวิร์กส่วนหนึ่งเท่านั้น

ยังมีคนอีกจำนวนมากที่เลือกใช้โซเซียลเน็ตเวิร์กมาใช้ประโยชน์ต่างๆ นานา แต่ก็ใช่ว่ามันจะให้คุณเพียงอย่างเดียว ได้มีคนจำนวนหนึ่งใช้โซเซียลเน็ตเวิร์กเป็นอาวุธละเมิดและโจมตีคนอื่น ยกตัวอย่างเช่น ที่เป็นข่าวใหญ่โตที่การจับกุมคนเล่นเฟซบุ๊คที่โพสต์ข้อความหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ทาง ศอฉ. (ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน) จึงได้ทำการปิดหน้าเฟซบุ๊คของหน้าเพจนั้นเอาไว้ให้เปิดไม่ได้ และด้วยการใช้งานที่อิสระของโซเซียลเน็ตเวิร์กเหล่านี้ จึงมีผลให้คนจำนวนมากที่มีความเข้าใจในอิสลามผิดๆ รวมทั้งผู้ไม่หวังดี ได้ใช้โซเซียลเน็ตเวิร์กในการปลุกระดมโจมตีให้คนทั่วไปเกลียดชังมุสลิมและใช้เป็นช่องทางในการดูหมิ่นศาสนาและท่านนบีมูฮัมหมัด (ซล.)

ล่าสุดเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ชาวปากีสถานจำนวนมากได้ออกมาเดินประท้วงตามท้องถนน ไม่พอใจเฟซบุ๊คที่เผยแพร่เนื้อหาของชาวตะวันตกกลุ่มหนึ่ง ที่ใช้เฟซบุ๊คเป็นเครื่องมือในการจัดประกวดวาดรูปภาพหมุ่นท่านนบี โดยคนใช้เฟซบุ๊คกลุ่มนี้จัดการประกวดในหัวข้อที่ว่า "วันที่ใครๆ ก็วาดภาพมูฮัมหมัดได้" ชาวตะวันตกกลุ่มนี้อ้างว่า เป็นการส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงออกและได้แรงบันดาลใจจากนักวาดการ์ตูนเสรีชาวอเมริกัน เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลต่อพลังศรัทธาในคนปากีสถานอย่างมากมายมหาศาล นักศึกษาและนักวิชาการอีกทั้งประชาชนรวมตัวกันหลายพันคนชุมนุมเรียกร้องให้คว่ำบาตรเฟซบุ๊คและให้จับกุมผู้เผยแพร่การ์ตูนล้อเลียนนบีมาดำเนินคดี
(อ่านต่อตอนหน้า)


KBAC : รายงาน
ขอบคุณเนื้อหาดีๆ จากหนังสือพิมพ์กัมปงไทย ประจำเดือนยะมาดิลอาเคร-รอยับ

วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

KBAC : "ปวดหัว ปวดหัว" เรื่องน่ารู้ (ช่วงจบ)

ข้อสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ปวดศีรษะแบบนี้มักไม่มีไข้ ไม่มีความดันสูงร่วมด้วย เพราะถ้าหากมีไข้การปวดหัวก็น่าจะมาจากอาการไข้นั้น ก็ต้องต้องรักษาไข้นั้นไปตามสาเหตุ หรือถ้ามีความดันสูงร่วมด้วย ก็ต้องคิดเสมอว่าน่าจะมาจากความดันสูง ก็ต้องรักษาความดันให้ลดลงก่อน เพราะอาการที่มีร่วมนั้นเป็นอาการที่สำคัญกว่าตัวอาการปวดหัวเอง อาการปวดหัวจากความดันสูงมักปวดตื้อๆ แน่นๆ ที่หัว เหมือนหัวจะระเบิด บางครั้งจะมีอาการอาเจียนพุ่ง โดยไม่มีคลื่นไส้มากก่อน อย่างนี้ถือว่าความดันในสมองกำลังขึ้นสูงมาก ต้องรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

อาการปวดหัวอีกชนิดหนึ่งที่มีอาการคล้ายกับปวดหัวที่เกิดจากความดันสูง ก็คือ อาการปวดหัวจากมีก้อนเนื้องอกในศีรษะ ลักษณะการปวดจะเป็นเช่นเดียวกันแต่จะปวดตอนตื่นนอนเช้าๆ และปวดติดต่อกันเป็นอาทิตย์ๆ เป็นเดือนๆ อาการเช่นนี้ ไม่ควรรอเป็นเดือนๆ แต่ต้องรีบไปพบแพทย์เสียตั้งแต่อาทิตย์แรกๆ เลยจะดีที่สุด

ผู้ที่ติดชากาแฟ เวลาเริ่มถือศีลอดในเดือนรอมฎอนในสองสามวันแรก มักจะมีอาการปวดหัวคล้ายกับความดันในสมองสูงเช่นกัน เกิดจากการขาดคาเฟอีนที่เคยทำให้เส้นเลือดตีบ เมื่อขาดไปเส้นเลือดจะขยายตัวมากขึ้น กินที่มากขึ้น ความดันในสมองจึงเพิ่มขึ้น พวกนี้พอได้ดื่มกาแฟสักแก้วก็จะหายไปเอง หรือถ้าทนเอาสักสองสามวัน ก็หายไปได้เช่นกัน

อาการปวดหัวที่ไม่เข้ากับกลุ่มใดๆ และผู้ป่วยอธิบายไม่ถูกไม่เหมือนกันสักครั้ง ตรวจอย่างอื่นก็ไม่มีอะไรผิดปกติ อาจจะเป็นโรคอ้อน มักพบในเด็กหรือคนวัยทำงานในวันจันทร์ซึ่งเป็นวันเริ่มเรียนเริ่มทำงานพอวันศุกร์จะอาการดีขึ้น และเสาร์อาทิตย์จะหายเป็นปลิดทิ้ง พวกนี้ต้องแก้โดยการไม่สนใจอาการปวดหัวนั้นผู้ป่วยก็จะเลิกปวดไปเอง แต่ต้องระวังว่าไม่ใช่ทุกหนจะเป็นเช่นนั้น เพราะบางครั้งอาจจะเป็นเรื่องจริง และกลายเป็นโรคร้ายแรงได้ ดังนั้นแม้ภายนอกจะไม่ใส่ใจแต่ในใจก็ยังต้องคอยลอบสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงไว้เสมอ ถ้าสงสัยไม่แน่ใจก็คงต้องไปพบแพทย์ไว้ก่อนจะปลอดภัยกว่า

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ หลายๆ ท่านก็คงจะหายปวดหัวไปได้มากแล้ว ก็อยากจะฝากหะดิษท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ไว้สักบทหนึ่งว่า

"จงอยู่ในโลกนี้ เสมือนหนึ่งท่านเป็นเพียงคนแปลกหน้า หรือผู้เดินทางผ่าน"

ดังนั้น อย่ายึดติดกับความเป็นไปของโลกนี้ให้มากนัก อย่าพยายามไปยังคับให้ทุกสิ่งในโลกเป็นไปตามที่เราคิด แต่จงทำเพียงเฝ้าดูความเป็นไป และปล่อยภาระหน้าที่ต่างๆ ในการดำเนินงานให้อยู่ในอุ้งหัตถ์ของพระผู้เป็นเจ้า แล้วท่ายจะหายปวดหัวจากความเครียดได้ตลอดไป อินชาอัลลอฮฺ


KBAC : รายงาน
จากวารสารสุขสาระ ฉบับที่ 78 เดือน 2553

KBAC : "ปวดหัว ปวดหัว" เรื่องน่ารู้ (ช่วงแรก)

ในช่วงเวลานี้พวกเราคนไทยหลายๆ ท่านคงรู้สึกตื่นเต้น วิตกกังวล นอนไม่หลับไปกับสถานการณ์บ้านเมืองของเรา ที่กำลังปั่นป่วนอยู่บางท่านอาจจะถึงกับมีอาการเครียดปวดหัวตัวร้อนไปเลยก็เป็นได้ ดังนั้น วันนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับเรื่อง "โรคปวดหัว" ดูเพื่อจะได้รู้ว่าปวดหัวจากสถานการณ์บ้านเมืองหรือปวดหัวจากเรื่องอื่นเพื่อที่จะได้แก้ไขได้ทัน

ความจริง อาการปวดหัว หรือปวดศีรษะนั้นไม่ใช่โรค คือ มันไม่ใช่เป็นจากเชื้อโรคชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ หรือว่า มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายเป็นแบบหนึ่งแบบใดโดยเฉพาะ แต่มันเป็นเพียงอาการของโรคหลายๆ โรคแตกต่างกัน ซึ่งแต่ละโรคนั้นก็จะวินิจฉัยได้ไม่เหมือนกัน รักษาก็ไม่เหมือนกัน ดังนั้น ถ้าแพทย์ท่านใดพบผู้ป่วยที่มาด้วยโรคปวดศีรษะและรักษาเท่าใดก็ไม่หาย ผลสุดท้ายแพทย์ท่านนั้นก็คงจะต้องรู้สึกษปวดศีรษะแทนไม่มากก็น้อย เรียดได้ว่าอ่วมไปด้วยกันทั้งคนไข้และทั้งหมอผู้รักษา ที่เราใช้คำว่าโรค ก็จะให้ดูเป็นแบบชาวบ้านๆ เรียกกันแบบง่ายๆ แต่ทั้งนี้ต้องให้เข้าใจว่า มันไม่ใช่โรคแต่เป็นอาการแสดงของโรคใดโรคหนึ่งเพียงเท่านั้นเอง และแพทย์ผู้รักษาต้องเป็นผู้ที่วินิจฉัยออกมาให้ได้ว่า อาการปวดศีรษะนั้นเกิดจากโรคใดกันแน่จึงจะสามารถรักษาได้ถูกต้อง เพื่อจะได้ไม่ต้องไปปวดหัวร่วมกับคนไข้ไปด้วย

โดยมากแล้วโรคปวดศีรษะส่วนมากมักเป็นโรคง่ายๆ คือ ปวดศีรษะจากความเครียดหรือภาษาอังกฤษเรียกว่า tension headache พวกนี้ อาการที่สำคัญคือ มักจะเริ่มปวดตอนสายๆ เนื่องจากเราจะได้รับข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่ไม่พึงประสงค์เข้ามาแล้วแก้ไขไม่ได้ กล้ามเนื้อต่างๆ ตามร่างกายก็จะหดเกร็งตัวขึ้น โดยเฉพาะที่บริเวณศีรษะ เราจึงรู้สึกปวดและเรียกมันว่า "ปวดศีรษะ" โดยมากมักปวดที่บริเวณขมับทั้งสองข้างหรือท้ายทอย เมื่อเราเอามือมากดๆ นวดๆ บริเวณที่ปวด จะรู้สึกผ่อนคลายสบายขึ้น เพราะนั่นคือการทำให้กล้ามเนื้อได้ยืดออก อาการปวดที่เกิดจากกล้ามเนื้อเกร็งตัวจึงลดลง ดังนั้น การปวดศีรษะจึงเป็นทั้งการวินิจฉัยและการรักษาไปด้วยในตัว ถ้ายังไม่หาย หรือยังไม่ดีขึ้น อาจจะใช้การประคบด้วยของอุ่นๆ ที่รอบๆ ศีรษะหรือตามด้วยยาแก้ปวดเช่น พาราฯ ก็ได้แต่บางครั้งถ้าเครียดมากๆ เช่น เพิ่งกลับจากประชุมคณะกรรมการต่างๆ หรือดูข่าวการเมืองมากไป เชียร์สีใดสีหนึ่งมากไป ฯลฯ อย่างนี้บางทีวิธีที่กล่าวมาแล้วมักจะเอาไม่อยู่ ก็คงต้องใช้ยาคลายกล้ามเนื้อรับประทานร่วมไปด้วย หรืออาจจะต้องเพิ่มยาคลายเครียดเข้าไปด้วยก็ได้ แต่ยาคลายเครียดจัดเป็นยาที่ต้องห้าม ต้องแพทย์สั่งเท่านั้นจึงมักจะเลี่ยงเป็นยาแก้แพ้ชนิดคลอเฟนิรามินแทน ซึ่งมีคุณสมบัติข้างเคียงคือทำให้ง่วงนอน นำมากินร่วมกันแล้วนอนให้หลับ ส่วนมากก็จะดีขึ้นเอง

สิ่งสำคัญที่จะทำให้ไม่กลับมาเป็นอีกก็คือ ต้องแก้ที่สาเหตุ ถ้าเป็นจากการรับข้อมูลข่าวสารที่ไม่ดี และเราไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงข้อมูลข่าวสารนั้นได้ก็ควรหยุดการรับข้อมูลข่าวสารนั้นๆ เสีย ก็จะเป็นการดีที่สุด


KBAC : รายงาน
จากวารสารสุขสาระ ฉบับที่ 78 เดือน 2553

วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

KBAC : ประกาศ+ประชาสัมพันธ์

เนื่องด้วยปัจจุบันนี้...หน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าเป็นจะหน่วยงานทางธุรกิจ หน่วยงานภาครัฐ ภาครัฐวิสาหกิจ องค์กรที่ไม่แสดงหาผลกำไร หรือไม่ว่าจะเป็นหน่วยใดก็ตามได้ให้ความสำคัญและเน้นหนักในเรื่องของเว็บไซต์มากขึ้น ด้วยเหตุผลในทางการประชาสัมพันธ์หน่วยงานหรือองค์กร เหตุผลการที่จะทำให้เป็นช่องทางของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การลดขั้นตอนในการทำงานที่ซับซ้อนหลายขั้นตอนให้ง่ายต่อการดำเนินงาน

ด้วยเหตุดังกล่าวนี้เอง...ทางโรงเรียนกระบี่โปลีเทคนิคและบริหารธุรกิจหรือ KBAC เองก็ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเว็บไซต์ในด้านต่างๆ ที่มีต่อโรงเรียนฯ ทางเราจึงได้มีการจัดทำเว็บไซต์ขึ้น ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนของการดำเนินการด้านต่างๆ ใกล้ที่จะเสร็จสมบูรณ์พร้อมเป็นช่องทางในการติดต่อ หาข้อมูลของเราได้แล้ว เพียงแค่ท่านให้ความสำคัญกับเราให้ความเชื่อมั่นกับเราในการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งกับเราด้วยการมอบอนาคตทางการศึกษาที่ดีแก่บุตรหลานของท่านด้วยระบบการศึกษาที่ดีและมีประสิทธิภาพของเราไว้วางใจ KBAC สิ

แล้วพบกัน...ณ..."http://www.kba.ac.th".....นะครับ


ฝ่ายประชาสัมพันธ์
KBAC
โรงเรียนกระบี่โปลีเทคนิคและบริหารธุรกิจ

วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

"คุณค่าของการสร้างมัสยิด" โดยอาจารย์ศอดิกีน อัลดุลบารีย์

มัสยิดเป็นศาสนสถาน เป็นที่ประกอบอามัลอิบาดะฮฺ เป็นศูนย์รวมของชุมชน และเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของอิสลามเป็นไปไม่ได้ที่อิสลามจะไม่มัสยิด จึงเป็นเรื่องสำคัญที่แต่ละกัมปงต้องข่วยกันสร้างมัสยิดขึ้นมา ผู้มีส่วนร่วมสร้างแม้เพียงพื้นที่เท่านกวางไข่ อัลลอฮฺก็จะทรงสร้างบ้านในสวรรค์ให้แก่เขา และสิ่งสำคัญที่ไม่น้อยไปกว่า คือ การบำรุงรักษาและหมั่นมาเยือนมัสยิดเป็นประจำ มิใช่สร้างไว้เพียงเพื่อเป็นสัญลักษณ์ประจำกัมปงเท่านั้น


KBAC : รายงาน
ขอขอบคุณเนื้อหาดีๆ จากหนังสือพิมพ์รายเดือน "กัมปงไทย"

"คุณค่าของการสร้างมัสยิด" โดยอาจารย์จรูญ ลงสุวรรณ

ที่ปรึกษาฝ่ายสตรีและเยาวชนมูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย

มัสยิดถือว่าเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะสำหรับศาสนาอิสลาม มัสยิดเป็นศูนย์กลางหรือบางคนอาจจะกล่าวว่าเป็นบ้านของพระเจ้า (อัลลอฮฺ) จริงๆ แล้วก็คือ เป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์หรือคนที่อยู่บนโลกนี้ระหว่างคนกับพระเจ้า สิ่งที่จะสื่อถึง คือ มัสยิดนั่นเอง และมัสยิดที่สำคัญๆ คือมัสยิดที่มักกะห์และมาดีนะห์ หรือบ้านเราในชุมชน คือ มัสยิดในชุมชนก็เป็นที่รวมตัวกันของสัปบุรุษในแต่ละที่เพื่อเข้ามาทำอิบาดะฮฺ ผู้ชายบรรดามุสลีมีน ต้องมาละหมาดรวมกันเป็นสิ่งจำเป็น และเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมที่ทำร่วมกันของคนภายในชุมชน สังคม เช่นวันฮารีรายาทั้งอีดิ้ลฟิตรีและอีดิ้ลอัฎฮา เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ให้ความรู้ด้านศาสนา ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเป็นแกน ศูนย์กลางให้กับชุมชน อย่างที่กล่าวมาแล้วว่ามัสยิดเป็นสิ่งจำเป็นในชุมชน แต่ปัจจุบันอาจจะเกิดขึ้นด้วยเจตนาของคนในชุมชนหลากหลายแนวความคิดที่มีการสร้างมัสยิดเพิ่มขึ้น บางครั้งเกิดจากการขัดแย้งซึ่งจริงๆ แล้วในอิสลามมีพระเจ้าเพียงองค์เดียวเท่านั้นแต่วิถีชีวิต แนวคิดของคนในสังคมย่อมต่างกัน แต่แท้จริงแล้วคือเราทำเพื่อพระเจ้า เพราะฉะนั้นแล้วสิ่งจำเป็น คือ ในตัวของทุกคน คือ ความมีอิหม่านของแต่ละคน และอีกอย่างที่สำคัญ คือเราควรเน้นถึงความสะอาดและสิ่งแวดล้อมภายในหรือรอบๆ มัสยิด เพราะความสะอาดถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา ฉะนั้นแล้วจำเป็นอย่างยิ่งบนเราทุกคนที่จะต้องช่วยกันรักษาดูแลด้านความสะอาด สิ่งแวดล้อมรอบข้าง พัฒนาและควรให้ความสำคัญกับมัสยิดให้มาก


KBAC : รายงาน
ขอขอบคุณเนื้อหาดีๆ จากหนังสือพิมพ์รายเดือน "กัมปงไทย"

"คุณค่าของการสร้างมัสยิด" โดยอาจารย์อัลดุลวาเฮด หวังประโยชน์

มัสยิดมีบทบาทต่อการดำรชีวิตของมุสลิมเป็นอย่างมาก นับตั้งแต่ที่ท่านนบี ศอลฯ ได้ใช้มัสยิดเป็นศูนย์กลางการบัญชาการเรื่องศาสนา ก็สามาถเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนในอดีตให้มีคุณธรรมได้เป็นอย่างดี ซึ่งนอกจากมัสยิดจะเป็นสถานที่ละหมาดที่ให้ผลบุญมหาศาลแล้ว ยังสามารถทำกิจกรรมอื่นๆ ได้อีกมากมาย  แม้เพียงแค่เข้าไปนั่งพักผ่อน อ่านอัล-กรุอานก็เกิดประโยชน์กับผู้ศรัทธาแล้ว มัสยิดยังเป็นที่มาของการเข้าสวรรค์ของผู้ศรัทธาอีกด้วย หากผู้ศรัทธาเข้าใจในคำสอนของท่านนบีที่ว่า "ผู้ใดสร้างมัสยิดเพื่อหวังความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ ซบ. อัลลอฮฺจะสร้างบ้านให้กับเขาหนึ่งหลังในสวรรค์" บุคอรี่ มุสลิม

แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า ให้เราแข่งขันกันสร้างมัสยิดให้ใหญ่โต แต่ไม่ผู้คนละหมาดจนกลายเป็นสัญลักษณ์ของวันกิยามะฮฺที่มีแต่อาคารที่ใหญ่โตแต่ไร้คนละหมาดดังที่ท่านนบีศอลฯ ได้กล่าวว่า "หนึ่งในสัญญานวันกิยามะฮฺ คือ การแข่งขันกันสร้างมัสยิดใหญ่โต"

ดังนั้นมัสยิดมีความจำเป็นสำหรับชุมชนมุสลิมแต่สิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าการสร้างมัสยิด ก็คือ การสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นในใจคน พาคนให้เขามัสยิด และมัสยิดจะมีคุณค่า มีความสำคัญและเป็นประโยชน์มาก หากผู้ดูแลรู้และเข้าใจศาสนา แต่ถ้าหากว่าผู้ดูแลวันนี้อ่านอัล-กรุอานไม่ออก ไม่ละหมาด บ้านของอัลลอฮฺจะเป็นอย่างไร? ลองนึกดู!


KBAC : รายงาน
ขอขอบคุณเนื้อหาดีๆ จากหนังสือพิมพ์รายเดือน "กัมปงไทย"

"คุณค่าของการสร้างมัสยิด" โดยคุณสมชาย แพจิตต์

อิหม่ามมัสยิดเนียะมะตุ้ลอิสลาม

มัสยิดที่อัลลอฮฺมิให้เราเข้าไปทำการละหมาด คือ มัสยิดที่สร้างขึ้นเพื่อให้ร้ายและยังอันตรายและสร้างความเดือดร้อน มัสยิดที่สร้างขึ้นเพื่อการปฏิเสธทรยศปิดบังซ่อนเร้นการร้าย มัสยิดที่สร้างขึ้นเพื่อให้เกิดการแตกแยกระหว่างศรัทธาชน มัสยิดที่สร้างขึ้นเพื่อซ่องสุมกำลังเพื่อทำการรบกับอัลลอฮฺ โดยทางศาสนทูจของพระองค์ หากมัสยิดหนึ่งมัสยิดใดเข้าข่ายข้อหนึ่งข้อใดพระองค์ทรงห้ามศรัทธาชนที่จะเข้าไปทำละหมาดในนั้นตลอดไป ตามพระราชมัญญัติบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.2540 มาตรา 23 หากจังหวัดใดมีมัสยิดไม่น้อยกว่าสามมัสยิดก็สามารถมีคณะกรรมการอสลามประจำจังหวัดได้ มีอยู่บ้างที่พยายามสร้างมัสยิดหลังที่สามขึ้นเพื่อให้เกิดคณะกรรมการอสลามประจำจังหวัดแต่มิได้เริ่มต้นด้วยบนความยำเกรง ก็เป็นสิ่งที่น่าเสียดาย บางทีก็สร้างมัสยิดขึ้นใหม่เพราะความเห็นไม่ลงรอยกัน เกิดจากการแตกแยก สิ่งเหล่านี้มิอาจปฏิเสธได้ว่ามีอยู่จริง ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการสร้างมัสยิดซึ่งเป็นของอัลลอฮฺนั้นจะต้องเริ่มต้นด้วยคำว่า "ตักวา" และสิ่งหนึ่งต้องคำนึงถึงการบำรุงรักษาหากเราสร้างตามความเหมาะสมการดูแลรักษา ก็ไม่เป็นภาระและเรื่องใหญ่ แต่ก็เป็นหน้าที่และภาระที่จะต้องดูแลรักษาและพัฒนามัสยิดของอัลลอฮฺดังพระทรงมอบหมายให้บุคคลที่มีลักษณธดังที่ว่า "อันที่จริง ที่จะทำการพัฒนาบูณะบรรดามัสยิดของอัลลอฮฺนั้น คือ ผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันสุดท้าย อีกทั้งดำรงการละหมาด บริจาคซะกาตและเขาไม่เกรงกลัวใครนอกจากอัลลอฮฺ ดังนั้นจึงหวังได้ว่าชนเหล่านี้แหละจะเป็นผู้ที่ได้รับการชี้นำ"


KBAC : รายงาน
ขอขอบคุณเนื้อหาดีๆ จากหนังสือพิมพ์รายเดือน "กัมปงไทย"

"คุณค่าของการสร้างมัสยิด" โดยอิหม่ามยาห์ยา เฮนดี

(อิหม่ามประจำมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ประเทศสหรัฐอเมริกา)

การสร้างมัสยิดเป็นการยกระดับมนุษย์ต่ออัลลอฮฺ ถือว่าเป็นการเตรียมสวรรค์ไว้ในอนาคตสำหรับเรา มัสยิดก็คือสถานที่ที่เรามีความรู้สึกเหมือนบ้านของเรา เป็นแหล่งที่เราเรียนรู้ มีสันติเกิดขึ้น และมัสยิดก็ไม่ใช่แค่สถานที่ที่เราไปละหมาดเพียงอย่างเดียว แต่เป็นสถานที่ที่เราจะสร้างศักยภาพให้กับตัวเราเอง และเป็นการสร้างสรรค์สังคม เรียนรู้ รู้จักซึ่งกันและกัน มีความสัมพัฯธ์ที่ดีไม่เฉพาะแต่พระเจ้าแต่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนมนุษย์ด้วยเช่นกัน และไม่อยากให้คิดว่ามัสยิดเป็นแค่สถานที่ที่ละหมด 5 เวลาเท่านั้น แต่แน่นอนการละหมาด 5 เวลาก็มีความสำคัญมาก นอกจากนั้นแล้วมัสยิดก็ยังเป็นศูนย์กลางของชุมชน เพื่อที่จะให้ทุกๆ คน  ในครอบครัวและระหว่างครอบครัวได้มีความรู้จักกัน มาสังสรรค์กัน ซึ่งเหล่านี้จะได้รับการแพร่หลายในมัสยิดทั่วโลก และต้องการให้มัสยิดเป็นสถานที่เรียนรู้ถึงวัฒนธรรม คำว่า "สันติภาพ" และให้เราเรียนรู้ว่าเราจะต้องรักอะไร ปฏิบัติสิ่งไหน ยังไง ไม่เฉพาะผู้คนเพียงอย่างเดียวแต่จะรวมไปถึงสิ่งแวดล้อมทั้งหลายที่อยู่บนโลกที่เราควรจะรักสิ่งนี้และช่วยกันอนุรักษ์ไว้ครับ

KBAC : รายงาน
ขอขอบคุณเนื้อหาดีๆ  จากหนังสือพิมพ์รายเดือน "กัมปงไทย"

"คุณค่าของการสร้างมัสยิด" โดยคุณวีระ สวัสดิ์มณี

(ผู้บริหารงานโรงแรมมุสลิมมืออาชีพ) การสร้างมัสยิดนับว่าเป็นผลบุญมหาศาล มัสยิดเปรียบเสมือนบ้านของพระผู้เป็นเจ้า เป็นจุดศูนย์รวมของคนในสังคมมุสลิม ทุกสิ่งทุกอย่างที่ประกอบคณงามความดีมาจบที่บ้านของอัลลอฮฺ (มัสยิด) ฉะนั้นถ้าหากเรามีความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นกำลังกาย กำลังทรัพย์ ที่จะช่วยกันสร้างมัสยิด นับว่าเป็นผลบุญที่ยิ่งใหญ่ เห็นว่ามุสลิมในชีวิตหนึ่ง ถ้าจะสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใด อยากให้มองไปที่บ้านของอัลลอฮฺเป็นอันดับแรก


KBAC : รายงาน
ขอขอบคุณเนื้อหาจากหนังสือพิมพ์รายเดือน "กัมปงไทย"

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

"KBAC : ประกาศ" เปิดภาคเีรียนที่ 2/2553

KBAC : Krabi Polytechnic And Business Administration Collage.
โรงเรียนกระบีโปลีเทคนิคและบริหารธุรกิจ

ประกาศเปิดภาคเรียนที่ 2/2553 ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 ประกาศมา ณ วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน 2553

ฝ่ายวิชาการและฝ่ายประชาสัมพันธ์
โรงเรียนกระบี่โปลีเทคนิคและบริหารธุรกิจ

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

"มะเร็งหลังโพรงจมูก" ช่วงที่ 3 (จบ)

การรักษา มีอยู่เพียงการฉายรังสี ร่วมกับการให้เคมีบำบัดเท่านั้น ส่วนการฝ่าตัดนั้น ไม่สามารถจะช่วยอะไรได้เนื่องจากส่วนมาก พบในขณะที่มะเร็งกระจายตัวออกไปไกล และติดกับอวัยวะสำคัญๆ แล้ว เช่นตา สมอง เส้นเลือดใหญ่ เป็นต้น การผ่าตัดจึงมีบทบาทน้อยมาก นอกจากการผ่าตัดชิ้นเนื้อไปพิสูจน์ในระยะแรกเท่านั้นเอง

    ดังนั้นการระวังรักษาที่ดีที่สุด  ก็คือ  การหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้เป็นมะเร็งโพรงจมูก ได้แก่กลิ่นที่ไม่บังควรทั้งหลาย นั่นคือ บุหรี่ หรืออาหารหมักดอง เช่น ปลาเค็ม ปลาร้าเป็นเต้น

    อีกอย่างหนึ่งก็คือ การที่จะต้องตระหนักรู้ในสิ่งที่ผิดปกติตั้งแต่เนิ่นๆ เช่นถ้าเราไม่เคยเป็นโรคภูมิแพ้มาก่อน แล้วอยู่ๆ กลับมีอาการคัดจมูก อยู่นานๆ เป็นเดือนๆ ไม่ยอมหาย โดยไม่รู้สาเหตุ หรือมีน้ำมูก ออกมาปนเลือกทั้งๆ ที่ไม่ได้ไปแคะจมูกอะไร หรือมีอาการตาพร่า มองเห็นภาพซ้อนหรือหูอื้อไปโดยไม่มีสาเหตุ เมื่ออาการดังนี้แล้ว ควรต้องรีบไปพบแพทย์ดู เพื่อลองหาว่าเป็นอะไรที่ผิดปกติหรือเปล่า เพื่อที่จะได้แก้ไขได้ทันท่วงทีหรือผ่อนหนักเป็นเบาได้ พูดง่ายๆ คือ ต้องรู้จักตัวเราให้ดี และรู้ว่าเมื่อไรมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น และไม่ประมาทรับประทานอาหารธรรมชาติ และสดใหม่อยู่เสมอ และขอพรจากพระเจ้าให้เราห่างไกลจากสิ่งที่เลวร้ายต่างๆ เท่านั้นเองครับ วัสลามฯ

KBAC : Krabi Polytechnic And Business Administration Collage.
โรงเรียนกระบี่โปลีเทคนิคและบริหารธุรกิจ
ขอบคุณบทความจากหนังสือพิมพ์รายเดือน "กัมปงไทย"

"มะเร็งหลังโพรงจมูก" ช่วงที่ 2

     เนื่องจากเป็นส่วนของจมูกและต่อกับปากนี่เอง สาเหตุของมะเร็งชนิดนี้จึงเป็นที่เดาได้ว่าน่าจะเกิดจากพวกกลินต่างๆ ที่เราสูดดมเข้าไปเป็นหลัก ตามรายงานบอกว่า พบมากในพวกคนจีนตอนใต้ที่ชอบรับประทานอาหารหมักดองเป็นหลัก เช่น ปลาเค็ม, เนื้อย่าง, เนื้อเค็ม, ไส้กรอก, แหนม, ปลาร้า หรือส่งที่สูดดมเข้าไปเช่นบุหรี่ เป็นต้น มักพบได้ในคนหนุ่มสาวถึงวัยกลางคน

     อาการที่สำคัญก็จะเกี่ยวกับอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียงนั่นเอง อาการเริ่มแรก คือ การที่มีน้ำมูกปนเลือกออกมาบ่อยๆ คัดแน่นจมูกตลอดทั้งปีทั้งชาติ หรือมีเสียงเปลี่ยนไปถ้าลามไปถึงหลอดยูสเตเชี่ยนก็จะกดทำให้หลอดตีบ ผู้ป่วยก็จะรู้สึกหูอื้อ เกิดหูอักเสบบ่อยๆ ถ้าลามออกไปโดนเส้นประสาท ก็จะเกิดอาหารเจ็บหรือชา บริเวณแก้มด้านที่เป็นมะเร็งนั้น และถ้าลามไปจนถึงกระบอกตาก็จะกระทบกระเทือนการมองเห็น เห็นภาพซ้อนได้

    ถ้าลามออกมาอีกเข้ามาถึงต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอต่อมน้ำเหลืองก็จะโตขึ้น เราก็จะพบว่า มีก้อนโตขึ้นที่คอโตเรื่อยๆ ไม่เจ็บไม่ปวด อาจมีก้อนเดียวหรือหลายก้อนก็ได้ ถ้าเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะพบว่ามีอาการเบื่ออาหารน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว

     เนื่องจากอาการเหล่านี้ มักเป็นอยู่เป็นประจำในคนทั่วไป เพียงแต่เป็นชั่วครั้งคราวเป็นบางครั้ง การที่จะเป็นนานขึ้นบ้างจึงทำให้คนส่วนมากไม่ได้เอะใจว่าตนเองกำลังเป็นโรคที่ร้ายแรงอยู่ จึงมักจะมาพบแพทย์เมื่อมีก้อนขึ้นที่คอและเอาชิ้นเนื้อไปตรวจพบว่าเป็นมะเร็งนั่นเอง

KBAC : Krabi Polytechnic And Business Administration Collage.
โรงเรียนกระบี่โปลีเทคนิคและบริหารธุรกิจ
ขอบคุณบทความจากหนังสือพิมพ์รายเดือน "กัมปงไทย"

"มะเร็งหลังโพรงจมูก" ช่วงที่ 1

     โรคมะเร็งเป็นโรคที่น่ากลัวมาก เนื่องจากเมื่อเป็นแล้วถ้าไม่ใช่ในระยะแรกๆ มักจะรักษาไม่หาย และจะเสียชีวิตเสมอ มีโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่ไม่ค่อยได้พบนัก แต่ถ้าพบแล้ว ก็มักจะเป็นระยะสุดท้าย หรือเกือบสุดท้ายเสียทุกที นั่นคือมะเร็งหลังโพรงจมูก

     โพรงจมุกของคนเราคือส่วนที่อยู่หลังจากจมูกของเข้าไปข้างใน จมูกคนเรามักจะดูเป็นสันขึ้นไปทางด้านบน (นอกจากคนที่จมูกแฟบมากๆ) แต่ความจริงแล้ว โพรงจมูกกลับเป็นเสมือนห้องใต้หลังคามากกว่าลองจินตนาการดูห้องใต้หลังคาในหนังฝรั่งที่จะมีทางเข้าเป็นบันไดลิงให้ไต่ผ่านทางเข้าเล็กเข้าไปในห้อง และเมื่อเข้าไปภายในก็จะพบห้องที่กว้างใหญ่จมูกเราก็เช่นเดียวกัน เป็นทางเข้าเล็กๆ คว่ำลงแต่ข้างในกลับเป็นห้องคล้ายๆ กระโจม พื้นห้องคือเพดานปาก (ซึ่งเปรียบเสมือนหลังคาของห้องข้างล่างคือโพรงปากนั่นเอง) ส่วนหลังคาบ้านคือปลายกระโจมก็จะเข้าไปยังสมองได้ทันที

     ด้านข้างๆ ของกระโจม หรือบริเวณแก้มสองข้างของเราเป็นห้องที่อยู่ติดกัน เชื่อมกันด้วยทางเชื่อมเล็กๆ บริเวณผนังด้านข้างของโพรงจมูก ที่มีส่วนเชื่อมต่อไปถึงช่องหูชั้นกลางด้วยที่เรียกกันว่าหลอดยูสเตเชื่ยน เลยจากโพรงจมูกไป เป็นช่องกว้างที่จะพาเราไปสู่โพรงหลังจมูก เข้าไปต่อกับช่องปากทางด้านหลัง เข้าไปยังคอและกล่องเสียงตามลำดับ ส่วนหลังของโพรงจมูกต่อไปกับส่วนของโรงจมูกนี้เองคือส่วนที่เรากำลังจะเรียนรู้กันเนื่องจากบางครั้งเกิดมะเร็วขึ้นในบริเวณนี้

KBAC : Krabi Polytechnic And Business Administration Collage.
โรงเรียนกระบี่โปลีเทคนิคและบริหารธุรกิจ
ขอบคุณบทความจากหนังสือพิมพ์รายเดือน "กัมปงไทย"

"เสรีภาพศาสนาในสังคมยุโรป" ตอนที่ 3 (ตอนจบ)

เสรีภาพศาสนาในสังคมยุโรป ตอนที่ 3 (ตอนจบ)
     จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับพี่น้องมุสลิมะห์ในต่างแดนนั้น ในหลายประเทศแถบยุโรป เมื่อเราย้อมมาดูที่เมืองไทยก็ "อัลฮัมดุลิ้ลลาห์" อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเมตตาเราเหลือเกินที่ให้เกิดในแผ่นดินที่ไม่ได้กีดกันข้อปฏิบัติของอิสลาม ส่วนใหญ่มุสลิมะห์ไทยนิยมใช้ผ้าคลุมผมซึ่งถึอว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ก็มีหญิงมุสลิมไทยบางส่วนแต่งกายด้วยชุดสีดำ คลุมผมคลุมหน้าเห็นแต่ลูกนัยน์ตา (บางครั้งถึงขั้นมีผ้าบางๆ ปิดที่ตาด้วย) ซึ่งประเทศไทยถือว่าเป็นเสรีภาพในการแต่งกายตามความเชื่อทางศาสนา

     สำหรับคนไทยต่างศาสนิกส่วนหนึ่งก็จะกังขากับการแต่งกายของมุสลิมะห์ เกิดความเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย ปิดบังอำพรางใบหน้าและรูปโฉม ง่ายต่อการก่อการร้าย การปลอมตัวได้ แต่กระนั้นแล้วมันก็ขึ้นอยู่กับจิตใจของคนในความเป็นมนุษย์ (ที่จะทำเรื่องเช่นนี้ได้) เพราะการแต่งกายไม่ใช่สิ่งเดียวที่จะวัดว่าใครเป็นคนดีหรือไม่ดี มันเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีข้อปฏิบัติอื่นๆ อีกของอิสลามที่เราต้องปฏิบัติ สิ่งสะท้อนให้เห็นได้ชัดคือความเสรีของโลกที่มีเพิ่มขึ้นประชาธิปไตยที่เพิ่มขึ้นในสิทธิเสรีภาพที่เบ่งบาน ยิ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างฝั่งยุโรป เหล่านี้กับสวนทางกับสิทธิของมุสลิมซะเหลือเกิน ทั้งนี้เราก็ต้องย้อนมาพิจารณาว่ามุสลิมะห์ฝรั่งนั้น เป็นแบบอย่างมุสลิมสมบูรณ์แบบ แต่งกายตามหลักศาสนา แต่ถูกกฎหมายบ้านเมืองที่เขาอาศัยอยู่กีดกัน เสรีทางศาสนา แต่ถูกกฎหมายบ้านเมืองที่เขาอาศัยอยู่กีดกัน แต่สำหรับมุสลิมะห์ไทยเรานี้อยู่ในประเทศที่ไม่กีดกัน เสรีทางศาสนา สามารถแต่งกายได้ทุกรูปแบบแล้วเราจะปลี่อยโอกาศนี้ผ่านเลยไปหรือ? ปล่อยกระแสแฟชั่นเกาหลีมาแทนที่กระนั้นหรือ? วันนี้คลุมฮิญาบแล้วหรือยัง? ทำตัวอยู่ในหนทางแห่งความทรงพอพระทัยขององค์อัลลอฮฺ (ซบ.) แล้วหรือยัง?

KBAC : Krabi Polytechnic And Business Administration Collage.
โรงเรียนกระบี่โปลีเทคนิคและบริหารธุรกิจ
ขอบคุณบทความจากหนังสือพิมพ์รายเดือน "กัมปงไทย"

"เสรีภาพศาสนาในสังคมยุโรป" ตอนที่ 2

เสรีภาพศาสนาในสังคมยุโรป ตอนที่ 2
     ไม่เฉพาะในฝรั่งเศสเท่านั้นที่ไม่ยอมรับมุสลิมใส่ผ้าคลุมฮิญาบ (บุรก้า) แต่ในประเทศอิตาลี สเปน เบลเยี่ยม เดนมาร์ก อังกฤษ เนเธอแลนด์ ออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ รัสเซีย หรืออาจทั้งหมดในแถบยุโรปก็เป็นไปได้ เช่น ในประเทศเดนมาร์ก ที่รัฐบาลได้ออกประกาศว่าห้ามการแต่งกายทางศาสนาทุกอย่างเมื่อเข้ามาในห้องพิจารณาของศาล ซึ่งพรรคการเมืองพรรหนึ่งเรียกร้องให้ใช้กฎนี้กับครูและบุคลากรทางการแพทย์ด้วย ในเบลเยี่ยมรัฐบาลท้องถิ่นใช้กฎเดิมที่ห้ามคนปิดบังหน้าตาตัวเองเพื่อความปลอดภัยในที่สาธารณะในออสเตรีย กำลังพิจารณาเรื่องนี้หากมีหญิงมุสลิมแต่งตัวคลุมหน้าตากันมากขึ้น เช่น เดียวกับในสวิตเซอร์แลนด์ ส่วนในเยอรมนีเมื่อปี 2546 ศาลรัฐธรรมนูญอนุญาตให้ครูมุสลิมใช้ผ้าคลุมผมไปสอนได้ และอนุญาตให้รัฐบาลท้องถิ่นในรัฐต่างๆ ออกกฎเฉพาะห้ามข้าราชการและครูมุสลิมใช้ผ้าคลุมผมได้ ในรัสเซียห้ามหญิงมุสลิมคลุมผมเวลาถ่ายรูปติดหนังสือเดินทาง และล่าสุดเมืองบาร์เซโลน่าประเทศสเปน ที่ออกกฎเหล็กห้ามสตรีสวมผ้าคลุมศรีษะเดินในอาคารสาธารณะโดยอ้างว่าการสวมผ้าคลุมศรีษะเป็นการลิดรอนเสรีภาพของสตรี เมืองเลอริดาในคาตาโลเนียและรัฐอื่นๆ แถบตะวันออกเฉียงเหนือ ห้ามหญิงมุสลิมสวมบุรก้าแต่งกายแบบมิดชิดและยังต้องการให้รัฐบาลออกกฎให้ทั่วประเทศปฏิบัติตามในการห้ามหญิงมุสลิมสวยบุรก้า บางรัฐในเยอรมันได้มีการห้ามครูโรงเรียนรัฐบาลคลุมฮิญาบอยู่แล้ว ซึ่งกรณีดังกล่าวที่เกิดขึ้นนั้นประธานาธิบดีนิโคลา ซาร์โกซี่แห่งฝรั่งเศส กำลังผลักดันให้ออกกฎหมายห้ามคลุมบุรก้าเช่นกัน แต่ขั้นตอนยังไม่ผ่านรัฐบาลและรัฐสภา หากผ่านกฎหมายนี้ก็คงออกใช้บังคับโดยกฏหมายที่ร่างดังกล่างมีการกำหนดบทลงโทษสำหรับมุสลิมะห์ หรือสตรีทั่วไป ที่ต้องการปกปิดเรือนร่างของตนให้พ้นจากความชั่วร้ายของเพศตรงข้ามไว้อย่างรุนแรง โดยหากผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกปรับเป็นเงินตั้งแต่ 20-35 เหรียญสหรัฐ (700-1,200 บาท) และอาจถูกจำคุกอีก 7 วันด้วย

     จากการออกกฎหมายห้ามในแถบยุโรปนั้น ก็จะเป็นได้ว่าสาเหตุหลักๆ ในการออกกฎห้าม ก็จะมีอยู่ไม่กี่ประเด็นส่วนหนึ่งก็จะอ้างเรื่องความปลอดภัย เราก็พอจะรับฟังได้แต่ข้ออ้างที่มองว่าผู้หญิงที่คลุมศรีษะปิดหน้าปิดตาเป็นการลดคุณค่าความเป็นสตรี เหตุผลนี้ก็ขัดกับความรู้สึกพวกเราฝั่งเอเชียหน่อย พวกฝรั่งเหล่านี้พยายามยกเรื่องเสรีภาพเพื่อให้สอดรับกับความต้องการของตัวเองว่าจะทำอะไรก็ได้เวลาเราไปเที่ยวทะเลก็จะเห็นเสรีภาพของฝรั่งว่าจะถอดเสื้อผ้านอนเปลือยกายตรงไหนก็ได้ตามชายหาด จะใส่บิกินนี่กี่ชิ้นก็ได้ตามใจฉัน แต่พอเห็นสตรีแต่งกายมิดชิดกลับไม่ให้เสรีภาพคนเหล่านั้นกลับมาออกกฎห้าม ทั้งที่เป็นการปกปิดไม่ให้สัดส่วนหรือความงามบนใบหน้าหรือเส้นผมไปกระตุ้นอารมณ์ผู้ชาย ข้อจำกัดเหล่านี้เราก็คงไปทำอะไรไม่ได้มากนักเพราะเป็นบ้านของเขากับชาวยุโรปคิดแบบนี้มาช้านาน

KBAC : Krabi Polytechnic And Business Administration Collage.
โรงเรียนกระบี่โปลีเทคนิคและบริหารธุรกิจ
ขอบคุณบทความจากหนังสือพิมพ์รายเดือน "กัมปงไทย"

"เสรีภาพศาสนาในสังคมยุโรป" ตอนที่ 1

เสรีภาพศาสนาในสังคมยุโรป ตอนที่ 1
     เสรีภาพในสังคมเป็นสิ่งสำคัญต่อบรรดาศาสนาของทุกศาสนา ความชอบในศาสนา หรือการต่อต้านศาสนาในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเชิงเหตุผล หรือแนวทางปฏิบัติ สำหรับแนวทางปฏฺบัตินั้นก็ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่และเป็นเรื่องที่ค้างคาหนักอกของพี่น้องมุสลิมเราในต่างแดนเกี่ยวกับการคัดค้านของกลุ่มประเทศแถบยุโรปที่มีการต่อต้านออกมาอย่างถี่ยิบตามหน้าหนังสือทั่วทุกมุมโลกเกี่ยวกับการต่อต้านผู้หญิงมุสลิมที่ใส่ผ้าคลุมฮิญาบ (บุรก้า) ในที่สาธารณะ หนำซ้ำบางประเทศยังจะออกกฎอย่างเป็นทางการถ้าหากใครใส่จะถูกปรับและจำคุก

     ปัจจุบันปัญหาเกี่ยวกับพี่น้องมุสลิมเราในต่างแดนที่เกิดข้อครหาจากการใส่ผ้าคลุมมักจะเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง เหตุดังกล่าวก็เกิดจากเสรีภาพทางศาสนาที่ถูกปิดกั้นและเกิดขึ้นพับพี่น้องมุสลิมเรา เช่นประเทศฝรั่งเศส มีประชากรมุสลิมประมาณ 5 ล้านคน ในจำนวนประชากรทั้งหมด 63 ล้านคน ที่ส่วนใหญ่อพยพมาจากแอฟริการเหนือ เช่น โมรอคโค ซึ่งเคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสมาก่อน เพื่อไปหางานทำตั้งหลักแหล่งหลายชั่วอายุคน ก่อนนั้นก็ไม่มีปัญหา แต่ระยะหลังมีผู้หญิงมุสลิมกลุ่มหนึ่งกว่า 2,000 คน นิยมแต่งตัวปิดบังร่างกายมิดชิดเหลือแต่ลูกตาเท่านั้น แม้แต่เล่นกีฬาก็ยังแต่งตัวดังกล่าว จนเป็นที่ขัดหูขัดตาของคนฝรั่งเศสแท้ๆ

KBAC : Krabi Polytechnic And Business Administration Collage.
โรงเรียนกระบี่โปลีเทคนิคและบริหารธุรกิจ
ขอบคุณบทความจากหนังสือพิมพ์รายเดียว "กัมปงไทย"

"วิสัยทัศน์" VISION OF KBAC





นำโรงเรียนกระบีโปลีเทคนิคและบริหารธุรกิจสู่การเป็นโรงเรียนต้นแบบโดยมุ่งผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพทั้งในด้านควารู้ความสามารถและด้านคุณธรรมอีกทั้งใช้ศักยภาพทั้งหมดที่มีอยู่ในอันที่จะทำให้เกิดประโยชน์ รวมทั้งมีส่วนในการพัฒนาชุมชนและสังคมโดยรวม....

"พันธกิจ" MISSION OF KBAC





- จัดกาเรียนการสอนระดับอาชีวศึกษาในทุกสาขาอย่างมีระบบและมีคุณภาพในระดับสากล
- ส่งเสริมด้านคุณธรรม โดยจัดให้มีการเรียนการสอนจริยธรรม
- ให้มีการใช้เทคโนโลยีทีทันสมัยในการเรียนการสอน
- ใช้ศักยภาพของโรงเรียนในทุกๆ ด้านเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม