ข่าว


วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

ดอกเบี้ยที่เกิดจากการฝากเงินในธนาคาร เป็นที่อนุมัติสำหรับมุสลิมหรือไม่ ในการไปทำบุญ เพราะเหตุใด?

ดอกเบี้ยที่เกิดจากการฝากเงินในธนาคารไม่เป็นที่อนุมัติสำหรับมุสลิม ซึ่งการได้รับดอกเบี้ยตามปกติในธนาคารทั่วไปนั้นรับมาไม่ได้อยู่แล้วตั้งแต่ต้น

แต่มีนักวิชาการ 3 กลุ่ม ซึ่งมีทรรศนะที่ต่างกันแบ่งเป็น 3 ทรรศนะด้วยกัน ทรรศนะของกลุ่มแรกคือ รับดอกเบี้ยไม่ได้เด็ดขาด มีความหมายว่าไม่ว่าจะเป็นการฝากในธนาคารเฉยๆ หรือการฝากเงินในธนาคารแล้วการได้รับดอกเบี้ย และการนำดอกเบี้ยไปทำบุญหรือนำเอามาใช้ทำอย่างอื่นไม่ได้เด็ดขาด แม้แต่การรับดอกเบี้ยยังไม่ได้เลย

ส่วนทรรศนะของนักวิชาการกลุ่มที่สอง นักวิชาการได้อธิบายว่า สามารถฝากเงินในธนาคาร และดอกเบี้ยที่ได้จากธนาคารสามารถเอามาได้ แล้วก็สามารถเอาไปทำบุญได้ด้วย ซึ่งทรรศนะนี้เป็นทรรศนะที่มีน้อยมาก ส่วนทรรศนะสุดท้าย นักวิชาการได้อธิบายว่า เอกดอกเบี้ยจากธนาคารได้ แต่อย่านำเงินดอกเบี้ยจำนวนนั้นมาใช้จ่ายภายในครอบครัว ควรนำไปใช้ในส่วนสาธารณะประโยชน์ เช่น นำเอาไปใช้ในการสร้างถนน สร้างกำแพง สร้างศาลาต่างๆ ได้ เพราะมิฉะนั้นแล้ว ถ้าเราบอกว่าเราไม่เอา คนในธนาคารก็จะเอาดอกเบี้ยไปใช้เอง

อาจารย์ซารีฟยังแสดงความคิดเห็นในทรรศนะที่สามว่า "ผมยังถือว่ากรณีที่สามมันยังจำเป็น ที่เราสามารถเอาเงินที่เป็นดอกเบี้ยไปใช้สร้างสาธารณะประโยชน์ แต่เวลา ณ วันนี้ เรามีธนาคารอิสลามแล้ว ถ้าหากใครีไม่มีทางเลือก ซึ่งเงินที่เขาเคยฝากอยู่ไม่ได้ฝากภายใต้ธนาคารอิสลามก็สามารถเอาเงินดอกเบี้ยนำมาใช้สาธารณะประโยชน์ได้ แต่อย่าเอามาใช้ภายในครอบครัวเด็ดขาด

ทรรศนะที่สาม ที่กล่าวมานั้น ไม่ใช่ทรรศนะที่ได้รับการอนุมัติ แต่สามารถนำมาทำให้เบาบางลง ซึ่งกล่าวได้ว่า ดอกเบี้ยที่ได้นั้น มันเป็นดอกเบี้ยที่ได้มาตามปกติโดยทั่วไปอยู่แล้ว จากการที่เราฝากธนาคารนั้นเอง แล้วนำมาใช้ประโยช์จะดีกว่า

ทรรศนะจาก Blogger "ณ ปัจจุบันนี้ประเทศไทยหรือสังคมคนไทยเองนั้นก็มีการก่อตั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยขึ้นมาแล้ว การที่เราจะฝากเงินไว้ควรที่พวกเราชาวมุสลิมทั้งหลายฝากเงินกับธนาคารที่เป็นแนวทางอิสลาม ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม ในเมื่อการที่เรานั้นมีหนทางเลือกแล้วทำไมเราต้องไปดิ้นรนหาหนทางที่ไม่แน่นอน ที่ไม่ชัดเจนหรือหนทางที่ไม่ได้รับการรองรับด้วยอั้ลฮาดิษจากบรรดาซอหะบะฮฺ ผู้รายงานเรื่องต่างๆ ที่ท่านนบีทรงปฏิบัติล่ะครับ"


kbac : รายงาน
เนื้อหาดีๆ จากหนังสือพิมพ์รายเดือน "กัมปงไทย"

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

KBAC : วันที่ "Socail Network" ปลุกศรัทธามุสลิมตอนจบ

อย่างไรก็ดี เราคงพึ่งเจ้าของโซเชียลเน็ตเวิร์กให้กระทำต่างๆ ไม่ได้อยู่ดี สิ่งที่ดีที่สุด คือ เราต้องสร้างเกราะคุ้มกันให้สังคมอิสลาม สร้างเกราะคุ้มกันให้กับเยาวชนมุสลิมทุกคน ท่ามกลางการเจริญรุดหน้าของโลกใบนี้ เราคงหนีไม่พ้นที่จะต้องเจอกับการต้องผจญกับคนที่ต่อต้านอิสลามและบิดเบือนอิสลาม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความรู้ศาสนากับลูกๆ หลานๆ ของเรา ซึ่งเป็นความรู้ที่ไม่ใช่แค่เก็บไว้ในสมองว่ารู้ แต่ต้องถูกนำมาปฏิบัติและถูกนำออกมาเผยแพร่ให้บุคคลอื่นๆ ชักชวนกันสู่หนทางแห่งอิสลาม หนทางสู่การตอนแทนแห่งโลกหน้าโลกอาคิเราะห์ ในขณะที่มีคนใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กทำลายล้างคุณธรรมความดี เราก็ต้องใช้มันนี่ละ ซึ่งมันมีประโยชน์อยู่มาก มาใช้ในการเผยแพร่อิสลามที่สวยงาม ดีงาม ถูกต้องสู่คนทั่วโลก เช่น กลุ่มนักวิชาการหรือนักเคลื่อนไหวด้านศาสนาต่างๆ ควรหันมาใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กในการดะวะห์ ตับลีฆ เชิญชวนคนทำอะม้าลอิบาดะห์ อาจจะสื่อสารผ่านทวิตเตอร์หรือเฟซบุ๊คก็ได้ ซึ่งจะทำให้เราสื่อสารได้กับคนจำนวนมากดังนั้น จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าโซเชียลเน็ตเวิร์กนั้นมีผลต่อความคิดของคนในสังคมออนไลน์

ส่วนมันจะสะท้อนหรือชักจูงให้คนคิดเช่นไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ทุกคน และวิจารณญาณในการรับรู้เข้าใจข้อมูลของแต่ละคนที่เข้าไปอ่านหรือเข้าไปเล่น และที่สำคัญที่สุด ทุกอย่างมันมีกรอบ มีขอบเขตของมันในเสรีภาพที่หลายๆ คนกล่าวอ้างนั้น มันก็ต้องไม่ไปละเมิดเสรีภาพคนอื่นเช่นกัน นั่นก็เป็นหน้าที่หลักของเจ้าของที่สร้างเครื่องมือเหล่านี้ขึ้นมาจะต้องตรวจสอบเนื้อหาบนเว็บให้ดี ไม่ใช่ช่วยตรวจสอบแต่กลุ่มธุรกิจเพลงกับหนัง

สิ่งที่เป็นผลประโยชน์อย่างมากอนันต์ ก็ กลับกลายมาเป็นโทษอย่างมหันต์ได้ในพลิบตาเหมือนกัน ความคิดความศรัทธาความเชื่อมั่นเราไม่สามารถสั่งการได้ อยู่ที่ความตระหนักเห็นว่าสิ่งไหนควรเชื่อ สิ่งไหนไม่ควรเชื่อ และเชื่ออย่างมีเหตุมีผลเชื่ออย่างใช้เหตุการณ์ประกอบการคิดใตร่ตรอง คนที่คิดที่ทำอย่างนี้ต่างหาก คือ กลุ่มคนที่ฉลาด

ช่วยกันคนละไม้คนละมือ...ในการสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้ศาสนาอิสลามดำรงอยู่ได้ และจะต้องเจริญต่อไปบนความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง
วัสลาม


KBAC : รายงาน
ขอบคุณเนื้อหาดีๆ จากหนังสือพิมพ์กัมปงไทย ประจำเดือนยะมาดิลอาเคร-รอยับ 1431

วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

KBAC : วันที่ "Social network" ปลุกศรัทธามุสลิมตอนที่สอง

ทั้งนี้หน้าเฟซบุ๊คดังกล่าวมีสมาชิกติดตามถึงแสนคนและมีภาพเข้าประกวดมากถึง 5 หน้า แต่ในขณะเดียวกันก็มีกลุ่มมุสลิมที่ทนไม่ได้กับการกระทำอันดูหมิ่นนบี กลุ่มมุสลิมกลุ่มนี้จึงได้สร้างเฟซบุ๊คโดยใช้ชื่อว่า "ต่อต้านวันที่ใครๆ ก็วาดภาพมูฮัมหมัดได้" ซึ่งได้รับความนิยมมากมายเช่นกัน มีสมาชิกติดตามมากถึงแสนกว่าคน จากกระแสต่อต้านเฟซบุ๊คจากประชาชนปากีสถานทางรัฐบาลปากีสถานจึงตัดสินใจบล็อกเว็บเฟซบุ๊คปิดการเชื่อมต่อกับเฟซบุ๊ค ส่งผลให้คนปากีสถานไม่สามารถเข้าเฟซบุ๊คได้

ทางด้านผู้บริหารเฟซบุ๊คก็รู้สึกไม่สบายใจต่อการตัดสินใจตัดการเชื่อมต่อเฟซบุ๊คในปากีสถาน เพราะว่า ปากีสถานมีประชากร 170 ล้านคน ชาวปากีสถานเล่นเฟซบุ๊คมากถึง 2.5 ล้านคน ไม่ใช่เฟซบุ๊คเท่านั้นที่โดนปิดในปากีสถาน ในส่วนของเว็บยูทูบก็เช่นกันได้ถูกปิดไปด้วยเพราะมีคลิดวีดีโอเป็นจำนวนมากที่มีเนื้อหาดูหมิ่นอิสลามและท่านนบี

โซเซียลเน็ตเวิร์กมีทั้งคุณและโทษ ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้นำไปใช้ว่าใช้ถูกวิธีหรือไม่ ถ้าจะเปรียบเทียบไปแล้วนั้น โซเซียลเน็ตเวิร์กก็เหมือนกับกระดานสำหรับปิดประกาศต่างๆ ที่ไม่ได้ใส่กุญแจล็อกใดๆ ใครๆ ก็สามารถมาปิดประกาศอะไรก็ได้ตามใจชอบ การที่มีผู้มาปิดประกาศที่มีเนื้อหาโจมตีหรือดูหมิ่นศาสนา สถาบันต่างๆ ตลอดจนเนื้อหาที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศนั้นถือเป็นความรับผิดชอบและสามัญสำนึกของเจ้าของกระดานดังกล่าว ที่จะต้องคอยตรวจสอบกระดานของตัวเองและเมื่อเห็นข้อความที่ไม่ดีหรือทำให้คนอื่นเสียหายก็ควรถอดข้อความนั้นๆ ออก ส่วนใหญ่แล้วเจ้าของเว็บโซเซียลเน็ตเวิร์กเหล่านี้มักไม่ค่อยให้ความสำคัญเรื่องการตรวจสอบข้อความที่ดูหมิ่นหรือละเมิดผู้อื่น ยกตัวอย่าง เช่น เว็บยูทูบนั้นมีการตรวจสอบวีดีโอที่คนโพสต์มา หากเขาพบว่ามีใครโพสต์วีดีโอที่เกี่ยวกับเพลงหรือภาพยนตร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ยูทูบจะทำการถอดวีดีโอดังกล่าวทิ้งเลย

แต่เมื่อเขาเห็นวีดีโอที่มีเนื้อหาหมิ่น ดูถูกเหยียดหยามทางศาสนา เขากลับทำเมินเฉย ไม่ถอดออก เช่น เดียวกับเฟซบุ๊คที่ปล่อยให้มีคนโพสต์ข้อความดูถูกศาสนาทั้งพุทธ คริสต์ อิสลามล้วนแล้วมีผู้ดูถูกทั้นั้นในกลุ่มสังคมออนไลน์ จึงเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของเจ้าของเว็บต่างๆ ที่จะต้องตรวจสอบเนื้อหาที่ได้ปล่อยให้มีการเขียนได้อย่างอิสระ
(อ่านต่อตอนหน้า)


KBAC : รายงาน
ขอขอบคุณเนื้อหาดีๆ จากหนังสือพิมพ์กัมปงไทย ประจำเดือนยะมาดิลอาเคร-รอยับ 1431

วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

KBAC : วันที่ "Social network" ปลุกศรัทธามุสลิม ตอนแรก

เหล่าบรรดาสาวกไซเบอร์ นักท่องอินเตอร์เน็ตทั้งหลาย ไม่มีใครที่ไม่รู้จัก เฟซบุ๊ค (facebook.com) ทวิตเตอร์ (twitter.com) ยูทูบ (youtube.com) อีกทั้งบล็อกและเว็บบอร์ดอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งหมดนี้เป็นของเล่นของนักเล่นอินเตอร์เน็ต เป็นสังคมออนไลน์ที่สามารถเข้าไปเขียนหรืออ่านเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างอิสระ และใคๆ ก็ขนานนามเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า "โซเซียลเน็ตเวิร์ก" (Social Network)

ของเล่นเหล่านี้ถูกพัฒนาให้กลายเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ทรงพลังมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะบทบาททางการเมือง ตัวอย่างเช่น ทักษิณใช้ทวิตเตอร์ในการสื่อสารกับเหล่าบรรดาสาวก นายกอภิสิทธิ์ใช้ทั้งทวิตเตอร์และเฟซบุ๊คในการสื่อสารกับแฟนคลับ หมอตุลย์ใช้เฟซบุ๊คในการร้างเครือข่ายสนับสนุนการทำงานของนายกภายใต้ชื่อ "มั่นใจคนไทยเกิน 1 ล้านคน ต่อต้านการยุบสภา" นอกจากนี้ประโยชน์ของโซเซียลเน็ตเวิร์กไม่ได้มีไว้สำหรับนักการเมืองเท่านั้น แต่เหล่าบรรดาศิลปินนักร้อง นักแสดง ต่างก็ใช้มันสื่อสารและประชาสัมพันธ์ผลงานตัวเองกับประชาชน อีกทั้งยังมีกลุ่มผู้ประกอบการจำนวนมากเลือกใช้โซเซียลเน็ตเวิร์กทั้งทวิตเตอร์และเฟซบุ๊คในการประชาสัมพันธ์แคมเปญหรือโปรโมชั่นใหม่ๆ เป็นช่องทางการสื่อสารทางการตลาดอีกช่องทางหนึ่ง ที่สำคัญคือฟรีไม่เสียเงิน จะเห็นได้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์ของโซเซียลเน็ตเวิร์กส่วนหนึ่งเท่านั้น

ยังมีคนอีกจำนวนมากที่เลือกใช้โซเซียลเน็ตเวิร์กมาใช้ประโยชน์ต่างๆ นานา แต่ก็ใช่ว่ามันจะให้คุณเพียงอย่างเดียว ได้มีคนจำนวนหนึ่งใช้โซเซียลเน็ตเวิร์กเป็นอาวุธละเมิดและโจมตีคนอื่น ยกตัวอย่างเช่น ที่เป็นข่าวใหญ่โตที่การจับกุมคนเล่นเฟซบุ๊คที่โพสต์ข้อความหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ทาง ศอฉ. (ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน) จึงได้ทำการปิดหน้าเฟซบุ๊คของหน้าเพจนั้นเอาไว้ให้เปิดไม่ได้ และด้วยการใช้งานที่อิสระของโซเซียลเน็ตเวิร์กเหล่านี้ จึงมีผลให้คนจำนวนมากที่มีความเข้าใจในอิสลามผิดๆ รวมทั้งผู้ไม่หวังดี ได้ใช้โซเซียลเน็ตเวิร์กในการปลุกระดมโจมตีให้คนทั่วไปเกลียดชังมุสลิมและใช้เป็นช่องทางในการดูหมิ่นศาสนาและท่านนบีมูฮัมหมัด (ซล.)

ล่าสุดเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ชาวปากีสถานจำนวนมากได้ออกมาเดินประท้วงตามท้องถนน ไม่พอใจเฟซบุ๊คที่เผยแพร่เนื้อหาของชาวตะวันตกกลุ่มหนึ่ง ที่ใช้เฟซบุ๊คเป็นเครื่องมือในการจัดประกวดวาดรูปภาพหมุ่นท่านนบี โดยคนใช้เฟซบุ๊คกลุ่มนี้จัดการประกวดในหัวข้อที่ว่า "วันที่ใครๆ ก็วาดภาพมูฮัมหมัดได้" ชาวตะวันตกกลุ่มนี้อ้างว่า เป็นการส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงออกและได้แรงบันดาลใจจากนักวาดการ์ตูนเสรีชาวอเมริกัน เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลต่อพลังศรัทธาในคนปากีสถานอย่างมากมายมหาศาล นักศึกษาและนักวิชาการอีกทั้งประชาชนรวมตัวกันหลายพันคนชุมนุมเรียกร้องให้คว่ำบาตรเฟซบุ๊คและให้จับกุมผู้เผยแพร่การ์ตูนล้อเลียนนบีมาดำเนินคดี
(อ่านต่อตอนหน้า)


KBAC : รายงาน
ขอบคุณเนื้อหาดีๆ จากหนังสือพิมพ์กัมปงไทย ประจำเดือนยะมาดิลอาเคร-รอยับ